วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Blended learning

          1. Blended learning 

1.1 ความหมายและความสำคัญ
         Blended learning หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ ที่ผสมผสานรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นในห้องเรียน ผสมผสานกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ผู้เรียนผู้สอนไม่เผชิญหน้ากัน หรือการใช้แหล่งเรียนรู้ที่มีอยู่หลากหลาย เป้าหมายอยู่ที่การให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้เป็นสำคัญ
         การสอนด้วยวิธีการเรียนรู้แบบผสมผสานนั้น ผู้สอน สามารถใช้วิธีการสอน สองวิธีหรือมากกว่า ในการเรียนการสอน เช่น ผู้สอนนำเสนอเนื้อหาบทเรียนผ่านเทคโนโลยีผนวกกับการสอนแบบเผชิญหน้า แต่หลังจากนั้นผู้สอนนำเนื้อหาบทความแขวนไว้บนเว็บ จากนั้นติดตามการดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้อีเลินนิ่ง ด้วยระบบแอลเอ็มเอส (Learning Management System ) ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
    

1.2 การใช้งานจริง ณ ขณะกรณีศึกษาการใช้ Blended Learning ในองค์กร หรือบริษัท ช่วยในการประชุม การสั่งงาน โดยมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตระบบเครือข่าย ส่วนมาก นิยมใช้ระบบ LMS เป็นระบบการบริหาร ผ่าน Sever เป็นระบบเครือข่ายผู้ใช้งานในระบบ
      1. กลุ่มผู้บริหาร Administrator ทำหน้าที่ดูแลระบบ
      2. กลุ่ม ครู อาจารย์ Instructor/ teacher ทำหน้าที่สอน
      3. กลุ่มผู้เรียน Student /Guest นักเรียน นักศึกษา

          สำหรับขั้นตอนการออกแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานของ Beijing Normal University (BNU) ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักดังนี้ 
           1. ขั้นก่อนการวิเคราะห์ (Pre-Analysis)
     1.1 การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน
     1.2 การวิเคราะห์วัตถุประสงค์ในการเรียนรู้
     1.3 การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน
           2. ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรมและการออกแบบวัสดุการเรียนรู้ (Design of Activity and Resources)
     2.1 การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสาน ประกอบด้วย
          - กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหน่วยเรียน
          - กลยุทธ์การนำส่งบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน
          - ส่วนสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสาน
     2.2 การออกแบบกิจกรรมแต่ละหน่วยเรียนประกอบด้วย
          - นิยามผลการกระทำของผู้เรียน
          - กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์
          - การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมด
          - การประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียน
     2.3 การออกแบบและพัฒนาวัสดุการเรียนรู้ประกอบด้วย
          - การเลือกสรรเนื้อหาสาระ
          - การพัฒนากรณีต่าง ๆ
          - การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนา
          3. ขั้นตอนการประเมินผลการเรียนการสอน (Instructional Assessment)
     3.1 การประเมินผลขั้นตอนการเรียนรู้
     3.2 การจัดการสอบตามหลักสูตร
     3.3 การประเมินผลกิจกรรมทั้งหมด
 
            ผลที่ได้จากขั้นตอนสุดท้าย จะนำไปพิจารณาตรวจปรับกระบวนการออกแบบในแต่ละขั้นที่ผ่านมาทั้งหมด เพื่อให้การเรียนรู้แบบผสมผสานมีประสิทธิภาพและเกดประสิทธิผลกับผู้เรียนอย่างแท้จริง 
        

1.3 ประโยชน์ ข้อดี ข้อเสีย
  • ประโยชน์ ข้อดี
1. แบ่งเวลาเรียนอย่างอิสระ
2. เลือกสถานที่เรียนอย่างอิสระ
3. เรียนด้วยระดับความเร็วของตนเอง
4. สื่อสารอย่างใกล้ชิดกับครูผู้สอน
5. การผสมผสานระหว่างการเรียนแบบดั้งเดิมและแบบอนาคต
6. เรียนกับสื่อมัลติมีเดีย
7. เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง Child center
8. ผู้เรียนสามารถมีเวลาในการค้นคว้าข้อมูลมาก สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลได้อย่างดี
9. สามารถส่งเสริมความแม่นยำ ถ่ายโอนความรู้จากผู้หนึ่งไปยังผู้หนึ่งได้ สามารถทราบผลปฏิบัติย้อนกลับได้รวดเร็ว
10. สร้างแรงจูงใจในบทเรียนได้

  • ข้อเสีย
1. ไม่สามารถแสดงความคิดเห็น หรือถ่ายทอดความคิดเห็นอย่างรวดเร็ว
2. มีความล่าช้าในการปฏิสัมพันธ์
3. การมีส่วนร่วมน้อย โดยผู้เรียนไม่สามารถมีส่วนร่วมทุกคน
4. ความไม่พร้อมด้าน ซอฟแวร์ Software บางอย่างมีราคาแพง (ของจริง)
5. ใช้งานค่อนข้างยาก สำหรับผู้ไม่มีความรู้ด้าน ซอฟแวร์ Software
6. ผู้เรียนบางคนคิดว่าไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะราคาอุปกรณ์ค่อนข้างสูง
7. ผู้เรียนต้องมีความรู้ ความเข้าใจด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ เพื่อเข้าถึงข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
8. ผู้เรียนต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเองอย่างสูง ในการเรียนการสอนแบบนี้
9. ความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนเป็นอุปสรรคในการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
10. สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมในการใช้เครือข่าย หรือระบบอินเทอร์เน็ต เกิดปัญหาด้านสัญญาณ
แหล่งอ้างอิงhttp://bunmamint10.blogspot.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น